หน่วยการเรียนรู้ที่3

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ อะไร

                                                                                                                                                                      
                                                                                                                           
                             



การเตรียมและดำเนินงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย

                                                                                                                                                                                                                                                                                           
                                                   


คนไทยคิดสร้างสรรค์ได้หรือ


                                                                                                 
   





เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยไปสู่ตลาดโลก



 เฟอร์นิเจอร์สร้างสรรค์ด้วยภมูปัญญาไทย
                                                                                           

 



ธุรกิจนกในภาคใต้ ธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ในอาเซียน










โฆษณา ความมีน้ำใจ อันเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เป็นที่สนใจของชาวโลก


 





 ใบความรู้ เรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์


ใบความรู้ีที่ 3.1  


ความจำเป็นการเรียนรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์

                ในปี พ.ศ. 2552  เศรษฐกิจโลกกำลังหดตัว โดยไอเอ็มเอฟ คาดว่า ปี พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา  กลุ่มประเทศยุโรป และญี่ปุ่น  จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2 – 0.1 และ -2 ตามลำดับ  เพราะปัญหาของเศรษฐกิจโลกคือวิกฤตของสถาบันการเงินที่สร้างหนี้สินและสภาพคล่องล้นระบบมานาน ทำให้ฟองสบู่ของราคาสินทรัพย์ทั่วโลกแตก  ส่งผลให้เกิดความเสียหายหลายปี  สรุปได้ว่า ความมั่งคั่งร่ำรวอยของชาวโลก น่าจะลดลงประมาณร้อยละ 20  เมื่อประชากรโลกจนลง           คนจำเป็นต้องมีการออมให้มากขึ้น เมื่อสหรัฐอเมริกามีสภาพเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ย่อมมีผลต่อประเทศไทยแน่นอน  ไทยจะค้าขายเชิงปริมาณอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อนนั้น น่าจะไม่ดีต่อเศรษฐกิจไทย  ดังนั้น ไทยควรหาวิธีการค้าขายเชิงคุณภาพ  ให้เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เอาจุดแข็งคนไทย   ความเด่นวัฒนธรรมไทย  มาเสริมให้สินค้ามีคุณภาพในความเป็นไทยบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ 
                หลายประเทศในโลกได้ปรับเปลี่ยนแนวเศรษฐกิจและพัฒนาเศรษฐกิจจนเริ่มเติบโตกลายเป็นคู่แข่งสำคัญหลายประเทศได้เกิดขึ้นมากมาย  ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น จีนก็ได้เจริญเติบโตรวดเร็ว  จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO  มีตลาดแรงงานเยอะมาก  ค่าแรงถูก  วัตถุดิบถูก สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้จีนมีการเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว กลายเป็นประเทศที่มีตลาดหลายประเทศอยากค้าขายด้วย    แม้แต่อินเดีย    อินโดนีเซีย ก็ได้ปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจมุ่งเชิงคุณภาพมากขึ้น  ประเทศที่ปรับเปลี่ยนหลายประเทศเหล่านี้ต่างมีต้นทุนด้านแรงงานต่ำกว่าไทย   ที่ดินถูกกว่า    มีการส่งเสริมวิธีคิดเชิงสรรค์   ทั้งมีตลาดภายในประเทศใหญ่กว่าไทยอีก  ประเทศไทยซึ่งเสียเปรียบด้านค่าแรงแรงงานอยู่แล้ว   ส่วนด้านเทคโนโลยีในหลายประเทศก็ใช้วิธีไม่แตกต่างกับไทยก็คือสั่งซื้อหรือนำเข้าได้ง่ายเช่นเดียวกับไทย             แต่ไทยพึ่งทุน  เทคโนโลยีและการตลาดจากบริษัทต่างประเทศมาก จึงทำให้ไทยได้รับประโยชน์น้อย   ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกเป็นของเจ้าของเทคโนโลยี เจ้าของแบนด์ซึ่งเป็นธุรกิจบริษัทแม่จากต่างประเทศทั้งสิ้น ถ้าไทยไม่ปรับการคิด  เรายิ่งเสียเปรียบทางค้ามากขึ้น
                การค้าขายของไทยในรูปแบบที่ทำกันมานานคือ การระดมทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหนักเองก็ไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยเท่าที่ควร    พบได้จากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540   ส่วนการส่งเสริมสินค้าอุตสากหรรมเบา เช่น สิ่งทอ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  และรองเท้า เป็นการขยายการค้าเชิงปริมาณ  เมื่ออุปสงค์ในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ผู้ผลิตเองก็หาสินเชื่อและทุนเพื่อขยายกิจการได้อย่างจำกัดเพราะสถาบันการเงินของโลกมีปัญหาทุนไม่เพียงพอ  วิกฤตโลกทำให้เราไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตได้  การหดตัวของกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจโลก และการแข่งขันด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแล้ว  ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นอุปสรรค์ด้วย  สรุปคือ การค้าที่เน้นการส่งออกหรือเชิงปริมาณอย่างเดียว มักมีปัญหาคือ(1) กำลังการผลิตที่มีมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก กลายเป็นคู่แข่งการค้าในตลาดโลก (2)  ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ทำให้อุตสาหกรรมหนักไทยขาดการยอมรับจากผู้บริโภคคนไทยและคนต่างชาติ   จากที่กล่าวมา คนไทยควรปรับวิธีการที่พึ่งพาอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกอย่างเดียว  ควรหาทางเลือกที่มีศักยภาพมาส่งเสริม                     อนึ่ง ประเทศไทยมีสนธิสัญญาพันธมิตรทางเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น มีสาระสำคัญอันหนึ่งคือ พัฒนาประเทศไทยให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ในเอเซีย  แต่ขณะนี้มีหลายประเทศก็ผลิตรถยนต์เช่น ประเทศจีนประเทศเดียวในปี พ.ศ. 2551 ผลิตมากถึง 12 ล้านคัน แต่ยอดขายมีเพียง 8.37 ล้านคัน  เมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรปรับการผลิตสินค้ามาเป็นประเภท สินค้าเกษตรเน้นการเพิ่มมูลค่า  บริการท่องเที่ยว  บริการทางแพทย์รวมถึงการเป็นที่พักพิงของผู้สูงอายุ    งานบริการการท่องเที่ยว     อุตสาหกรรมที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์ เช่น อุตสาหกรรมบันเทิงซึ่งงานประเภทแอนิเมชั่นเป็นรูปแบบที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์  เป็นต้น  และพัฒนาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ด้วยการบริการด้านการสื่อสารให้มีราคาถูกลง    เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ  ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ลดปัญหาการว่างงานเพราะเน้นพัฒนาทรัพยการมนุษย์  ถ้าไทยปรับความคิด  วิธีการ  เน้นความเป็นไทย สร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้              สิ่งสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ นั่นเอง




ใบความรู้ที่ 2
เศรษฐกิจสร้างสรรค์: ทางรอดของเศรษฐกิจไทย

                เมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยเจอปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง ทำให้ภาวะการส่งออกของไทยหดตัว  เหตุการณ์ดังกล่าวมีเจ้าหนี้หลายประเทศขาดความเชื่อมั่นในการค้าโดยเฉพาะการส่งออกของไทย   แต่หลังจากที่ไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้  ก็มีหลายประเทศในโลกที่ปรับเศรษฐกิจได้ทันและพัฒนา เติบโตขึ้น กลายเป็นคู่แข่งขันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอีกหลายประเทศ เช่น  ประเทศจีน เมื่อจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO  ซึ่งจีนมีความได้เปรียบด้าน แรงงาน  ที่ดิน  วัตถุดิบ ได้เข้ามาแข่งขันในตลาดโลกอย่างเต็มตัว  ดังนั้นประเทศไทยต้องรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้นในการขายสินค้า  ที่แตกต่างจากสินค้าอื่นๆในตลาดโลก  ไทยต้องกำหนดอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเป็นตลาดเฉพาะ(Niche  Market) สินค้าเหล่านี้มาจากพื้นฐานลักษณะเด่นของเอกลักษณ์ไทย  ความเป็นไทย  ทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรมไทย  ความมีน้ำใจของคนไทย  ให้เป็นสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงเพื่อจำหน่ายในตลาดโลก(value  creation  :  การนำเอาจุดแข็งของประเทศ  วัฒนธรรม  สถานที่ตั้งของประเทศ  ความโอบอ้อมอารีของคนไทยมาสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ  ในขณะที่ value  added  เกิดจากทักษะและเทคโนโลยี  แต่ value creation  เกิดจากทักษะและคุณค่าทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ลอกเลียนแบบกันไม่ได้ง่าย ๆ  value creation  จึงเป็นการนำเอาวัฒนธรรมมาสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการนั่นเอง
                สินค้าที่เป็นประเภท value creation  ที่ไทยนำมาสร้างให้มีมูลค่าได้ ได้แก่ อาหาร ( ครัวไทยสู่ครัวโลก)     แฟชั่น  เฟอร์นิเจอร์  การพัฒนาซอฟต์แวร์และแอมิเนชั่น   การท่องเที่ยวและการบริการด้านสุขภาพ  การศึกษานานาชาติ  เป็นต้น  หากไทยปรับเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนด้วยปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติ ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยความรู้และความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาเศรษฐกิจไทยน่าจะเป็นโอกาสขยายตัวอย่างยั่งยืนบนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative  Economy)  บนพื้นฐานเอกลักษณ์ความเป็นไทย  จึงจะเป็นทางรอดของไทยในยุคปัจจุบัน 

                คำกล่าวของวิเวียน  เวสต์วูด (Vivenne  Westwood)  นักแฟชั่นดีไซเนอร์ชาวอังกฤษ กล่าวว่า
I realized I could do anything I liked.   It was only a question of how I did it that would make it original.          I realised then thai I could go on forever.
                “ฉันสามารถทำทุกอย่างที่อยากทำได้  ปัญหาอยู่แค่ว่า  ทำอย่างไรจึงได้ผลงานที่ไม่ซ้ำใคร  เมื่อคิดได้อย่างนี้  ฉันก็รู้ตัวว่าฉันสามารถสร้างผลงานต่อไปได้โดยไม่มีที่สิ้นสุด”


                สินค้าที่เป็นประเภท value creation  สามารถทำได้ใน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ   ธุรกิจเล็ก ในชุมชน  ธุรกิจขนาดย่อมจนถึงระดับอุตสาหกรรมได้ เป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ จึงเป็นรูปแบบการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช่วยสร้างความเท่าเทียมกันได้
ธุรกิจ  เศรษฐกิจสร้างสรรค์
                การพัฒนาสินค้าและบริการด้วยความคิดสร้างสรรค์  บนพื้นฐานของความเป็นไทย   เช่น
                 -การท่องเที่ยวที่เป็นรีสอร์ตและสปา    บูติคโฮเต็ล 
                -การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 
                -สปาและนวดแผนไทย
                -ภาพยนตร์ไทย
                -แฟชั่นแบรนด์ไทย ต่าง ๆ
                -คนไทยที่พัฒนาซอฟแวร์ เช่น โปรแกรมปลาดาว  คอมพิวเตอร์เกม
                -อาหารไทย
                -พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวต่าง ๆ เช่น ข้าวเกษตรอินทรีย์  ข้าวกล้อง  ข้าวงอก ให้เชื่อมโยงสุขภาพ

ประเทศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

                ญี่ปุ่น   ส่งเสริมการท่องเที่ยว   มีการ์ตูนที่มีชื่อเสียง เช่น โดราเรมอน  มังงะ    เป็นต้น     เกมคอมพิวเตอร์

            



                                                                                

               อินโดนีเซีย 

                                                                                                                               
                                                                                                                                                   

    




                                                                                             

เวียดนาม









เกาหลี

                                                                                                                                                                                                                                           


glitter-graphics.com












อ้างอิง

ทำไมต้อง"เศรษฐกิจสร้างสรรค์"  รวมบทความกระตุ้นอะดรนาลินโดย 6 นักคิด.-กรุงเทพ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ(TCDC) .2552.



หนังสือ ทำไมต้อง "เศรษฐกิจสร้างสรรค์"


ppt   หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์

       ให้นักเรียนอ่านและศึกษาจากเรื่องนี้       คลิ๊กตรงนี้


ppt  ตัวอย่างเศรษฐกิจสร้างสรรค์  อยากรู้  อยากดู   ตัวอย่างที่ 1 คลิ๊กตรงนี้


                                                                                 ตัวอย่างที่ 2  คลิ๊กตรงนี้  


                                                                                 ตัวอย่างที่ 3  คลิ๊กตรงนี

                                                                             
                                                                                 ตัวอย่างที่ 4  คลิ๊กตรงนี้


นักเรียนค่ะ  อย่าลืม ทำรายงานส่งคุณครูด้วยนะ

           1.   ทำงานกลุ่ม ๆ ละ ไม่เกิน 4 คน
           2.   สืบค้น ธุรกิจเชิงสรรค์  1  รายการ  หรือ  คิดเองได้ ให้สเก๊ตภาพ เป็นธุรกิจที่อยากทำในอนาคต  และนำเสนอเป็นรายงานในกระดาษ เอ4
           3.   ส่งภายใน เดือนมกราคม 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น