หน่วยการเรียนที่ 2

 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  เรื่องการศึกษาคุณภาพประชากรในประเทศต่าง ๆ 

ใบความรู้ที่ 2.1 
เรื่อง  การพัฒนาศักยภาพ คน

                องค์กรที่ศึกษาเพื่อการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันประเทศต่าง ๆ ได้แก่
                1.  UNDP  หรือ United  Devilopment  Programme   หรือสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ  ทำหน้าที่ศึกษาและจัดอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์  เช่น    ศึกษา 3 ด้าน คือ             ความยืนยาวของอายุ  การศึกษา  มาตรฐานการครองชีพ  ในปี  2543  ดังตาราง ต่อไปนี้


อันดับ
ประเทศ
ดัชนีอายุ
ดัชนีการศึกษา
ดัชนีเศรษฐกิจ
HDI
9
ญี่ปุ่น
0.92
0.94
0.91
0.924
24
สิงคโปร์
0.87
0.86
0.92
0.881
31
เกาหลี
0.79
0.95
0.82
0.854
61
มาเลเซีย
0.79
0.79
0.73
0.772
76
ไทย
0.73
0.84
0.67
0.745
99
จีน
0.75
0.79
0.57
0.706
108
เวียดนาม
0.71
0.83
0.47
0.677

2.  IMD   หรือ International  Institute  For Management  Development   เป็นสถาบันที่ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่มีชื่อเสียง  ตั้งอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  IMD ได้จัดอันดับประเทศ ในปี 2539  2543  ดังนี้

ประเทศ
พ.ศ. /อันดับ
2539
2540
2541
2542
2543
สิงคโปร์
8
5
1
4
5
ญี่ปุ่น
4
11
11
13
20
เกาหลี
21
22
22
31
27
จีน
35
31
24
27
29
ไทย
40
37
35
33
30
มาเลเซีย
34
33
34
36
35




ในปี พ.ศ. 2543  ประเทศไทยได้วิเคราะห์ศักยภาพของคนไทย  มีจุดแข็ง จุดด้อย ตามที่ IMD  ได้ตั้งเกณฑ์  ดังนี้



จุดแข็ง
อันดับที่
เกณฑ์
1.  อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับอุดมศึกษา ( 17 -34 ปี)
2.   อัตราพึ่งพิง


3.  แรงงานหญิงต่อแรงงานทั้งหมด

4.  ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
1

9


15

22
เป็นเกณฑ์เดียวที่ไทยอยู่อันดับที่ 1 สูงกว่าค่ามัธยฐาน  (9.4)
คิดเป็นร้อยละ 47.49 (ค่ามัธยฐาน 51.52)  แต่ยังได้เปรียบกว่ามาเลเซียที่มีประชากรวัยเด็ก มากกว่า
ผู้หญิงเข้าสู่วัยแรงงาน  มีงานทำมีจำนวนสูงมากขึ้น
คิดเป็นร้อยละ 6.7  สูงกว่าค่ามัธยฐาน (6.605)
จุดอ่อน
อันดับที่
เกณฑ์
1.  ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา
2.  ค่านิยมของสังคม
3.  ร้อยละของประชากรไม่รู้หนังสือ
4.  คุณภาพชีวิต
5.  แอลกอฮอล์และสารเสพย์ติด
29
30
32
34
37
ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาสูงมาก
ค่านิยมไม่สนับสนุนความสามารถการแข่งขัน

คุณภาพชีวิตต่ำ
มีปัญหาอยู่มาก



ใบความรู้ที่ 2.2 
เรื่อง  การพัฒนาคนในประเทศต่าง ๆ 

การพัฒนาคนของประเทศต่าง ๆ  ได้แก่ประเทศสิงคโปร์  ประเทศเวียดนาม  ประเทศเกาหลี  ประเทศญี่ปุ่น  และประเทศไทย  มีแนวการพัฒนาคน ดังนี้
ประเทศเวียดนาม
ข้อมูลทั่วไป  เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  จากอิทธิพลของสงครามเย็นอันเป็นความขัดแย้งระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับประชาธิปไตยที่มีสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ที่ทำให้เกิดสงครามในเวียดนาม  นอกจากนี้ลักษณะภูมิประเทศที่มีรูปร่างค่อนข้างยาวจากเหนือมาใต้  ส่งผลต่อวิถีชีวิตและการบริหารปกครองประเทศ   ภายหลังสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง  เวียดนามพยายามรวมเวียดนามให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและพัฒนาประเทศโดยเร็ว  
เมื่อปี พ.ศ. 2529  รัฐบาลคอมมิวนิสต์เวียดนามได้ประกาศปฏิรูปประเทศ โดยใช้นโยบายโด่ย  เหม่ย (DOI  MOI)   ที่เน้นการแก้ปัญหาการพัฒนาประเทศแบบตลาดนำ (Market Economy)  มากกว่ารัฐนำ  คนเวียดนามให้ความสำคัญแก่การศึกษามานานแล้วถึงแม้ว่าประเทศจะอยู่ในภาวะสงครามก็ตาม  จึงให้ความสำคัญแก่การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ  ต่อมาในปี พ.ศ. 2534     รัฐบาล โฮจิมินห์  ได้ปฏิรูปการศึกษา เน้นปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเป้าหมายการพัฒนาคือด้านอุตสาหกรรม   ความต้องการให้ประชาชนอยู่ดี  กินดี  ประเทศมีพลังเข้มแข็ง  ทำให้มีความเจริญเท่าเทียมประเทศอื่น ๆ   นอกจากนี้ยังมุ่งปฏิรูประดับอาชีวศึกษาเพื่อผลิตคนสายอาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงานที่กำลังขยายทางอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่เวียดนามพยายามและให้มีการแข่งขัน  ให้ติดอันดับโอลิมปิคคือการส่งคนเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิควิชาการและเวียดนามสามารถทำให้คนเวียดนามมีชื่อเสียงติดอันดับต้นได้




ประเทศสิงคโปร์
ข้อมูลทั่วไป   ประเทศที่มีขนาดเล็ก  ประชากรน้อย  และมีทรัพยากรจำกัด
IMD  ได้จัดอันดับให้ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูงมากจัดเป็นอันดับที่ 4 ของโลก และเป็นประเทศที่มีความมั่นคงมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้เพราะ  สิงคโปร์ได้จัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาคนมุ่งสู่คุณภาพชีวิต  ให้โรงเรียนจัดการเรียนที่ส่งเสริมให้ โรงเรียนเป็นนักคิด  ชาติแห่งการเรียนรู้  เน้นระบบการศึกษาที่สามารถผลิตคนให้มีพื้นฐานที่ดีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เพื่อทำงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
IMD จึงจัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพมนุษย์เต็มเปี่ยมทั้งด้านการศึกษาและเศรษฐกิจ








ประเทศเกาหลี

ข้อมูลทั่วไป  ประเทศเกาหลีได้รับผลกระทบของสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2เช่นเดียวกับประเทศเวียดนาม  แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง  เกาหลีจึงมุ่งเน้นพัฒนาคนโดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ 
เมื่อ ปี 2536  นายคิม ยัง ซัม ประธานาธิบดีเกาหลี  ได้ประกาศนโยบายที่จะสร้าง               เกาหลีใหม่  โดยประกาศ  แผนโลกาภิวัตน์ เพื่อปฏิรูปการเมือง  การทหาร เศรษฐกิจ  มี 3 ขั้นตอนคือ
1.             มุ่งแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
2.             สร้างวินัยชาติ
3.             สามารถแข่งขันกับนานาชาติ
ปี 2538  ประเทศเกาหลีได้ประกาศหลักการ 5 ประการที่พัฒนาประเทศ คือ
1.             สร้างเกาหลีให้อยู่ในระดับที่  1 ของโลก
2.             พัฒนาความมีเหตุผล
3.             รักษาความเป็นเอกภาพ
4.             สร้างเอกลักษณ์แห่งความเป็นเกาหลี
5.             สร้างสำนึกแห่งการมีชีวิตอยู่ในชุมชนร่วมกับมนุษยชาติ
ประเทศเกาหลีมุ่งเน้นพัฒนาคนเพื่อแข่งขันกับนานาชาติ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ
ประเทศเกาหลีได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1.             เป็นบุคคลที่พร้อมจะร่วมมือกับผู้อื่น
2.             มีความคิดสร้างสรรค์
3.             มีจิตใจที่เปิดกว้าง
4.             ให้ความสำคัญกับการทำงาน
5.             มีจริยธรรม
การพัฒนาคนเกาหลีจึงมีทั้งด้านคุณภาพ  ด้านปริมาณและด้านคุณค่าทางจิตใจ




ประเทศญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในเอเชียที่สามารถพัฒนาประเทสในด้านต่าง ๆ  ไม่ว่าเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  การคมนาคม  ดนตรี  กีฬาและอื่นๆ  จนมีความเจริญสูงรุ่งเรืองเท่าเทียมกับประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา  ทั้ง ๆที่ญี่ปุ่นมีเนื้อที่เพียงร้อยละ  70 ของประเทศไทยและเล็กกว่าสหรัฐอเมริกาถึง  25  เท่า  ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในการพัฒนา    จึงมีสินค้านำเข้ามาก เช่น น้ำมันดิบ  99.5 %   แร่เหล็ก  99.9  %   ถั่วเหลืองที่นำเข้ามาทำเต้าหู้และซีอิ้วดำซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวญี่ปุ่นก็ยังต้องนำเข้าถึง 91 %  
หลังสงครามโลกครั้งที่  2  ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีความลำบาก  ยากจน   เจ็บป่วยด้วยโรคขาดสารอาหาร  โรคพยาธิ  โรคติดเชื้อต่าง ๆ   ทหารอเมริกันต้องเอาดีดีทีมาพ่นหัวเพื่อกำจัดเหาให้กับคนญี่ปุ่น   แต่ปัจจุบันนี้ประเทศญี่ปุ่นมีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงกว่าประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา    มีอัตราการตายของทารกต่ำที่สุด  ประชากรมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์และมีอายุเฉลี่ยสูง   การที่ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็วได้ เป็นเพราะชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน  แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าระบบการศึกษาหรือเนื้อหาวิชาที่เรียนจะแตกต่างจากประเทศอื่น   ญี่ปุ่นมีระบบการศึกษาระดับอนุบาบ 2 -3 ปี  ประถมศึกษา  6  ปี  มัธยมศึกษาตอนต้น  3 ปีและมัธยมศึกษาตอนปลาย  3 ปี  ระดับปริญญาตรี  4  ปี  ส่วนเนื้อหาที่เรียนก็คล้ายคลึงกับหลายประเทศแทบไม่มีความแตกต่าง
จึงกล่าวได้ว่า  สิ่งที่ญี่ปุ่นทำให้มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่านั้นไม่ใช่ระบบโรงเรียนหรืออุปกรณ์การศึกษาหรือเนื้อหาวิชา  แต่สิ่งที่ญี่ปุ่นเน้นมากที่สุดคือความเป็นผู้มีจิตสำนึกที่ดีในการดูแลเลี้ยงดูตั้งแต่ครอบครัว      โรงเรียนอนุบาลจนถึงระดับปริญญาตรี   วัยทำงานซึ่งต้องมีการอบรมพนักงานในบริษัทต่างๆ ให้มีความรู้ มีจิตสำนึก  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลูกจิตสำนึกอันดับแรกคือครอบครัวได้แก่   พ่อ แม่  ต่อมาโรงเรียนคือ ครู  ทั้งครูและพ่อแม่ของเด็กจะร่วมมือกันฝึกเด็กให้เป็นผุ้มีคุณสมบัติดังนี้
1)  ตรงต่อเวลา                                                    2)  รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3)  ทำงานด้วยความกระตือรือร้น                    4)  สะอาด  เป็นระเบียบ
5)  อ่อนน้อมถ่อมตน                                         6)  ประหยัด  รู้คุณค่าของเงิน
7)  พิถีพิถันใส่ใจในรายละเอียด                      8)  ซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกง ระลึกถึงผู้มีพระคุณ
9)  แยกแยะเรื่องส่วนตัวและความรับผิดชอบในหน้าที่                       10) ทำงานเป็นทีม
เมื่อเด็กจบจากโรงเรียนและเข้าเรียนมหาวิทยาลัยทั้งออกมาทำงานแล้ว  บริษัททุกบริษัทก็ยังยึดแนวทางในการฝึกอบรมพนักงานให้มีคุณสมบัติ  10 ประการนี้เช่นกัน  ทำให้บริษัทญี่ปุ่นผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพ   มีระบบบริการที่ดีและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง



          




ประเทศไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540  ทีประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนไทยที่มีการศึกษา  คนที่มีงานทำ ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว กล่าวคือมีบางคนไม่สามารถปรับตัวในการแก้ปัญหาได้  จึงสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยขาดการคิดเป็น ในการแก้ปัญหาของตนเอง  ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา 2540  ในปี พ.ศ. 2544  นายกรัฐมนตรีของไทยได้กล่าวว่ารูปลักษณ์ของคนไทยยุคใหม่ต้องมีศักยภาพ  มีความพอดี เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข
คนดี คือ คนที่มีความรับผิดชอบ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
คนเก่ง คือ คนมีปัญญา  มีความคิด  สามารถแก้ปัญหาได้
คนมีความสุข คือคนที่มีสุขภาพกาย  สุขภาพจิตดี  สามารถทำงานเป็นทีมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
จึงทำให้ประกาศวิสัยทัศน์เพื่อการศึกษา คือ มุ่งสร้างคน  สร้างงาน  สร้างชาติ พัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ
ดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้ศึกษาและวิจัยคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต ดังนี้
1.  มิติด้านร่างกาย              ให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการร่างกายและสติปัญญา
2.  มิติด้านจิตใจ                   ให้รู้จักตนเอง มีความเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นและสิ่งรอบข้างรอบตัว

3.  มิติด้านความรู้                ให้มีความรู้ความเข้าใจรู้ลึกในแก่นวิชา  สามารถคาดการณ์ในอนาคต
4. มิติด้านทักษะความสามารถ  มีทักษะการคิด  ทักษะการสื่อสาร  ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ทักษะทางสังคม ทักษะการจัดการ  ทักษะทางภาษา เป็นต้น
5.  มิติด้านลักษณะชีวิต    ให้เป็นคนมีความขยัน  อดทน  ทำงานหนัก  มีวินัย มีความซื่อสัตย์  มีจิตสำนึกความเป็นไทย    สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้    ประหยัดและออม 










พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงการศึกษาว่า ...นอกจากการศึกษาจะสอนให้เป็นคนเก่งแล้ว  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะอบรมให้ดีพร้อมกันไปด้วย  ประเทศของเราจึงจะได้คนทีมีคุณภาพทั้งเก่ง ทั้งดี  มาเป็นกำลังของบ้านเมือง   ให้คนเก่งเป็นปัจจัยและพลัง  สำหรับการสร้างสรรค์และให้ความดีเป็นปัจจัย  เพื่อประคับประคองหนุนนำความเก่งให้เป็นไปในทางที่ถูก  ทีอำนวยผลเป็นประโยชน์อันพึงประสงค์...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น